ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
- หญิงวัยหมดประจำเดือน -- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น
- ผู้สูงอายุ
- ชาวเอเซียและคนผิวขาว -- โรคกระดูกพรุนถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ ตามสถิติพบว่าสองชนชาตินี้
มีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนผิวดำ
- รูปร่างเล็ก ผอม
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
- ออกกำลังน้อยไป
- สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ
- ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์
- เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต
- รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนและอาหารมีกากมากเกินไป
- รับประทานอาหารเค็มจัด
อาการของโรคกระดูกพรุน
ระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อเริ่มมีอาการแสดงว่าเป็นโรคมากแล้ว อาการสำคัญของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อยๆลดลง หลังจะโก่งค่อมหากหลังโก่งค่อมมากๆจะ ทำให้ปวดหลังมากเสียบุคลิก เคลื่อนไหวลำบากระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน เมื่อเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ จะหายยาก ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อ และท้องผูกเป็นประจำ
โรคแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก บริเวณที่พบมาก ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ซึ่งหากที่กระดูกสันหลังหัก จะทำให้เกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถ เคลื่อนไหว ไปไหนได้
การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
วิธีที่ดีที่สุด คือ การเสริมสร้างเนื้อกระดูกของร่างกายให้มากที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตาม คนทุกวัยควรให้ความสนใจในการป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยการปฏิบัติตนดังนี้
รับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต กุ้งแห้งตัวเล็ก กุ้งฝอย
ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป
เลี่ยงอาหารเค็มจัด
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ
เลี่ยงยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
ระมัดระวังตนเองไม่ให้หกล้ม
การใช้ยาในการป้องกันและรักษาจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ เพศ และระยะเวลาหลังการหมดประจำเดือน
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรก ทำได้โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องวัดความหนาแน่น ของกระดูก (BoneDensitometer) การตรวจนี้เป็นการตรวจโดยใช้แสงเอกซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมากส่องตามจุดต่างๆ ที่ต้องการตรวจแล้วใช้คอมพิวเตอร ์คำนวณหาค่าความหนาแน่น ของกระดูกบริเวณต่างๆเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางรายที่มีความเสี่ยง ได้แก่ รูปร่างผอม ดื่มเหล้า กาแฟ สูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ไม่ออกกำลังเป็นประจำ หรือ รับประทานยาสเตียรอยด์ ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่น ของกระดูกเป็นประจำทุกปี
กลับ