ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขและควบคุมได้ มักสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ความเครียด ความอ้วน
ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ อายุ จากการศึกษาพบว่าโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะมากขึ้น ตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพศ เชื้อชาติ และกรรมพันธุ์
อาการเริ่มต้นของอัมพฤกษ์ ที่สังเกตได้และควรไปพบแพทย์ ดังนี้คือ
1. เกิดอาการชาหรือไม่มีแรง ตามใบหน้า แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
2. พูดไม่ได้ชั่วขณะ หรือลำบากในการพยายามพูด
3. ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวไปชั่วขณะ
4. เวียนศีรษะโดยไม่มีสาเหตุหรือทรงตัวไม่ได้
โรคหลอดเลือดในสมองป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงและควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังนี้ คือ
1. การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง โดยรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีปริมาณเพียงพอ ลดอาหารเค็ม หรือเกลือมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดแข็งได้ รับประทานอาหารที่มี กากใยสูงเป็นประจำ เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมากโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น มันหมู มันไก่ ไข่แดง และกะทิมะพร้าว รวมทั้งอาหารที่หวานจัดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงได้
2. งดสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งสารนี้จะทำให้หัวใจเต้นเร็วหลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้วจะทำให้ เกิดอันตรายได้
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะช่วยคลายเครียด ลดไขมัน และลดความดันโลหิตนอกจากนี้ยังทำให้ สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย
4. การควบคุมน้ำหนัก ความอ้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้หลายอย่าง เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันสูง และทำให้เกิดโรคเบาหวานได้
5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
6. ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากพบว่าท่านป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ
กลับ