1.11.54

ดูแลสุขภาพตามศาสตร์จีน




          คน เรามักจะคิดว่าสาเหตุของการเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรคต่างๆ ความจริงแล้วสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาเหตุแห่งโรคเท่านั้น เพราะในสิ่งแวดล้อมเดียวกันทำไมบางคนป่วย บางคนไม่ป่วย ทั้งนี้เพราะมูลเหตุแห่งโรคนั้นประกอบไปด้วยสาเหตุจากภายนอกกับสาเหตุจากภายใน แต่สาเหตุจากภายในนั้นสำคัญกว่าอันเป็นที่มาของความเจ็บไข้ได้ป่วยซึ่งเกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานโรคและธาตุประจำตัวของแต่ละคน ที่สืบเนื่องมาจากอุปนิสัย ความเคยชิน ความชอบ พื้นฐานของการกินอยู่ กิจกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น การกินอาหาร การหลับนอน การทำงาน สภาวะจิตใจของแต่ละคน อุปนิสัยใจคอ อารมณ์ รวมทั้งพฤติกรรมของครอบครัว


          ร่างกายของมนุษย์แท้จริงก็คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ พลังงานต่าง ๆ บนโลกมีความสัมพันธ์กับโลกของเราโดยเฉพาะกับมนุษย์ ในเรื่องความสัมพันธ์กับการก่อเกิดและการทำลายของธาตุทั้ง 5 ซึ่งจะมีผลต่อมนุษย์ทั้งในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ ในคนเราจะประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 5 ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ฤดูกาล วันเดือนปีและเวลาเกิด ว่าคน ๆ นั้นได้รับพลังจากฟ้าแล้วได้ธาตุตัวไหนมากน้อยเท่าใด ก็จะมีการแสดงออกมาตามลักษณะของธาตุนั้น ๆ 


          ปราชญ์จีนได้คิดค้นวิธีที่จะเข้าใจธรรมชาติโดยใช้หลักการ 5 ธาตุ มาวิเคราะห์โรคต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ดูว่าบุคคลคนนั้น มีปัญหาอะไร ต้องทำการรักษาอย่างไร ซึ่งแต่เดิมดวงจีนก็จะนำมาใช้ในเรื่องของการวิเคระห์และรักษาโรคเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ระบบนักษัตรก็ยังถูกจัดหมวดหมู่ออกเป็นธาตุต่าง ๆ เช่นกัน โดยแบ่งเวลาใน 1 วัน ออกเป็น 12 ยาม (1 ยามเท่ากับ 2 ชั่วโมง) โดยแต่ละยามมีการกำหนดนักษัตรประจำอยู่ แต่ละนักษัตรก็จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นอวัยวะต่าง ๆ  ตามการสังเกตและวิเคราะห์ของปราชญ์จีนสมัยก่อนแล้วบันทึกไว้ ในช่วงเวลา 24  ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง
อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดีลําไส้ใหญ่ ลําไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย (ชานเจียว)
การไหลเวียนของพลังชีวิต(ลมปราณ)  ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ท้ังหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ที่หมุนเวียนเป็นวัฏจักร


23.00-01.00  น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรชวด เกี่ยวข้องกับถุงน้ําดี  (ถุงน้ําดีเป็นถุงสํารองเก็บน้ําย่อยที่ออกมาจากตับ)อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ํา จะมาดึงน้ําจากถุงน้ําดี ทําให้ถุงน้ําดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียวสายตาเสื่อม เหงือกจะบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ําดีจะโยงไปปอด)  จะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ  (ผู้ที่ตัดถุงน้ําดีออก เมื่อตรวจด้วยลูกดิ่งจะพบว่าถุงน้ําดีข้น มักมีอาการปวดขา ปวดสะโพก)ทางแก้คือ อย่าใส่ชุดนอนที่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอนที่ทําจากใยสังเคราะห์จะไปดูดน้ําในร่างกาย ควรสวมชุดผ้าฝ้ายที่ดีที่สุด ไม่ควรนอนบนที่นอนสูง ๆ เพราะจะทําให้เสียน้ํำในร่างกาย ดังนั้นควรดื่มน้ําก่อนเข้านอน หรือก่อนเวลา 23.00 น.
ข้อควรปฏิบัติ : ดื่มน้ำก่อนเข้านอน
อาหารบำรุง : อาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่ทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ


01.00-03.00 น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรฉลู เกี่ยวข้องกับตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจําในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonine)  เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทําให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอนจากร่างกายจะหลั่งมีราทินประจําแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟีน (endorphin) ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหารเพราะจะทําให้ตับทํางานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับ คือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รอง คือ
1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บจะไม่สวย
2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อย ๆ จะทําให้ตับทํางานหนักตับจะหลั่งน้ําย่อยออกมามากจึงไม่ได้ทําหน้าที่หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ
ข้อควรปฏิบัติ : นอนหลับพักผ่อนให้สนิท
อาหารบำรุง : อาหารที่ช่วยล้างพิษ เช่น งา น้ำผลไม้และน้ำสะอาด


03.00-05.00  น. เป็นช่วงเวลาของนักษัตรขาล เกี่ยวข้องกับปอด จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจําปอดจะดีผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอํานาจในตัว
ข้อควรปฏิบัติ : ตื่นนอน สูดอากาศสดชื่น
อาหารบำรุง : อาหารจำพวกเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอสูง เช่น ส้ม ผักใบเขียว น้ำผึ้ง หอมใหญ่


05.00-07.00  น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรเถาะ เกี่ยวข้องกับลําไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระทําให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดที่ตําแหน่งสองข้างของจมูก ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ําอุ่น 2  แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ําผึ้งผสมมะนาวโดยใช้น้ํา 1 แก้ว + น้ําผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ + น้ํามะนาว 4-5 ลูก ทําดื่มจนกว่าจะถ่ายหรือบริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือท้าวเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง
ข้อควรปฏิบัติ : ขับถ่ายอุจจาระ
อาหารบำรุง : อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช


07.00-09.00 น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรมะโรง เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทํางานถ้ากินอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ทุกวันกระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอจะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ชี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย
ข้อควรปฏิบัติ : กินอาหารเช้า
อาหารบำรุง : ควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน


09.00-11.00 น.  เป็นช่วงเวลานักษัตรมะเส็ง เกี่ยวข้องกับของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือดสร้างน้ําเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศีรษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ
  - ม้ามโต ม้ามจะไปเบียดปอด ทําให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย
  - ม้ามชื้น อาหารและน้ําที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทําให้อ้วนง่าย
ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00-11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อย ๆ หรือพูดเก่ง ๆ ม้ามจะชื้น จึงควรพูดน้อยกินน้อย ม้ามจึงแข็งแรง
ข้อควรปฏิบัติ : พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ
อาหารบำรุง : มันเทศสีแดง หรือเหลือง อาหารที่ทำจากบุก


11.00-13.00  น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรมะเมีย เกี่ยวข้องกับหัวใจ หัวใจทํางานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทําให้ต้องใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรืออาการตกใจให้ได้
ข้อควรปฏิบัติ : หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง
อาหารบำรุง : อาหารที่มีสีแดงตามธรรมชาติ เช่น ถั่วแดงและผลไม้สีแดง น้ำมันปลา วิตามินบีต่างๆ


13.00-15.00  น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรมะแม เกี่ยวข้องกับลําไส้เล็ก จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภทเพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่เป็นน้ําทุกชนิด เช่น วิตามินซี บี โปรตีนเพื่อสร้างกรดอะมิโนสร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่าผู้ชาย 11  ฟุต เพื่อให้การดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีลําไส้ยาวกว่าจึงมีกระดูกซี่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซี่
ข้อควรปฏิบัติ : งดกินอาหารทุกประเภท
อาหารบำรุง : อาหารไขมันต่ำ น้ำสะอาด


15.00-17.00  น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรวอก เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะ แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจากหัวตา ผ่านหน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอย แผ่นหลังทั้งแผ่น สะโพก ด้านหลังขา หัวเข่า น่อง ส้นเท้า นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับระบบความจําไทรอยด์และระบบเพศทั้งหมด ช่วงเวลานี้ควรทําให้เหงื่อออก อาจจะออกกําลังกายหรืออบตัว กระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง
ข้อควรระวัง ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออมามากไตจะวาย แต่ถ้ามีโปตัสเซียมปนออกมามากหัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจวายด้วยการให้ดื่มน้ําส้มหรือน้ํามะนาวเพื่อเติมโปตัสเซียม  (ผู้ที่มีโปตัสเซียมน้อยต้องระวังเรื่องการฉีดยาชา เพราะยาชาจะทําให้โปตัสเซียมลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจอาจวายได้ง่าย) การอั้นปัสสาวะบ่อย  ปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดทําให้เหงื่อที่ออกมามีกลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ
ข้อควรปฏิบัติ : ทำให้เหงื่อออก (ออกกำลังกาย หรือ อบตัว)
อาหารบำรุง : ผลไม้เช่น บิลเบอร์รี่ และทานน้ำสะอาดมากๆ


17.00-19.00 น. เป็นช่วงเวลาของนักษัตรระกา เกี่ยวข้องกับไต จึงควรทําใจให้ลดชื่นไม่ง่วงเหงาหาวนอนในช่วงเวลานี้ผู้ใดมีอาการง่วงนอนช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนหลับแล้วเพ้อแสดงว่าอาการหนักมาก
  - ไตซ้าย จะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงามชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัวและเป็นคนขี้ร้อน
  - ไตขวา จะคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความจํา ถ้าไตขวามีปัญหาความจําจะเลื่อมและเป็นคนขี้หนาว (ผู้ที่ไตแข็งแรงจะเป็นคนมีอายุยืน เป็นคนกล้า)
ถ้าลําไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลําไส้เล็กไม่ได้จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ไตทํางานหนัก จึงกลายเป็นโรคไต ผู้ที่เป็นโรคไตสมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแลคือ ตอนเช้าอาบน้ําเย็น ตอนเย็นให้อาบน้ําอุ่น กรณีที่อาบน้ําไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้าแต่น้ําควรใส่สมุนไพรที่ถูกกับโฉลกของผู้ป่วยเช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อควรปฏิบัติ : ทำตัวให้สดชื่น ไม่ง่วงหงาวหาวนอน
อาหารบำรุง : อาหารที่มีเกลือต่ำ รวมถึงสมุนไพรจีน เช่น ถั่งเฉ้า


19.00-21.00  น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรจอ เกี่ยวข้องกับเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงเวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทําสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอดต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าชุดสีดํา เทา แช่เท้าในน้ําอุ่น
ข้อควรปฏิบัติ : ทำสมาธิ หรือสวดมนต์
อาหารบำรุง : อาหารจำพวกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ รวมถึงวิตามินบีต่างๆ


21.00-23.00  น.  เป็นช่วงเวลาของนักษัตรกุน เกี่ยวข้องกับระบบความร้อนของร่างกาย ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่นจึงห้ามอาบน้ําเย็นในช่วงเวลานี้เพราะจะทําให้เจ็บป่วยได้ง่าย อย่าไปตากลมเพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ
ข้อควรปฏิบัติ : ห้ามอาบน้ำเย็น ห้ามตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น
อาหารบำรุง : อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง โสม





                                                                    กลับ